ณ วันหนึ่งกับมิตรภาพ เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และน้ำตา แต่เราก็ยังมีคำว่า "ร่วมทุกข์ ร่วมสุข"  ด้วยกันเสมอ นั่นคือ มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน รับฟังเหตุผล วางเป้าหมายไว้เพื่อเดินร่วมทางไปด้วยกัน สานฝันเด็กน้อยบ้านไกล คำพูดสักล้านคำ ยังไม่เท่าหนึ่งการกระทำที่มีประโยชน์ต่อสังคม อย่ามัวแต่พูดหรือยืนเต๊ะท่าอยู่กับที่ หากคิดที่จะทำความดีจงลงมือทำ ณ เวลานี้ ยามนี้ มิใช่ว่าจะทำ แต่ไม่ทำ  วันนี้เข้าใจสิ่งหนึ่ง คือ มีคนเคยพูดไว้ว่า "ผู้ใหญ่ที่ไร้สัจจะ คือภาระของสังคม" จดจำไว้เสมอว่า ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด แต่หลังจากพูดออกไปแล้ว คำพูดเป็นนายเรา ตระหนัก ยึดมั่นในการทำคุณงามความดี ต่อไป ถึงแม้การทำความดีจะมีอุปสรรค เราอาจท้อได้อ แต่จงอย่าถอย ท่องไว้เสมอว่า "อุปสรรคและปัญหา คือที่มาแห่งความสำเร็จ " การทำความดี คือ ดอกไม้ของชีวิต
ในบางครั้งเราทุกคนมองในสิ่งเดียวกันแต่เราก็กลับคิดต่างกัน ซึ่ง แค่วินาทีเดียว เราก็คิดไม่เหมือนกันหนึ่งลมหายใจมีค่าเสมอ เราจะมองมาจากที่มุมไหนคงไม่สำคัญเท่ากับวินาทีที่เหลืออยู่ของเรา นั้นทำเพื่อตนเอง หรือเราเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับใครหลายคนที่กำลังอยู๋ในมุมมึด ของสังคม โดยเฉพาะคนผู้นั้น คือ ผู้ด้อยโอกาส ชีวิตคนเราก็แค่กว้างศอก ยาววา มิใช่หรือ
เด็กน้อยผู้ไร้เดียงสา แต่ยังตามล่าหาความฝัน เดินทางก้าวไปบนคืนวัน สู่ฝันที่ตั้งใจ วันนี้อาจมีปัญหา แต่ใช่ปัญญาแก้ไข เพื่ออนาคตเด็กน้อยบ้านไกล ครูไทยหัวใจแข็งแรง
ขอบคุณผู้ใจบุญทั้งหลาย ที่ได้แบ่งปันสิ่งของ น้ำใจที่ให้สมปอง ประคองเด็กน้อยบ้านไพร
หากเด็กๆที่โรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา ถามว่า "เอาะ จ๊ะ เว ล่ะ" นั่นหมายถึงถามว่า "ทานข้าวหรือยัง" หากเราทานแล้ว เราต้องตอบว่า "จ๊ะเปี๋ยวโอ่" หรือ "จ๊ะ เว" นะจ๊ะ..ภาษาล่าหู่ (มูเซอร์) ของเด็กน้อยชาวชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
เสนอคำว่า "อะบูอือหย๋ะ" ตามภาษาลาหู่ (มูเซอร์) แปลเป็นภาษาไทยว่า "ขอบคุณ" หรือ "สวัสดี" ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับทักทายกัน และแทรกอยู่ในประโยคสนทนา  ดังเช่นเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา ซึ่งแต่งชุดชนเผ่าทุกวันศุกร์ กำลังอะบูอือหย๋ะ ทุกท่านอยู่นะจ๊ะ