ณ วันหนึ่งกับมิตรภาพ เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และน้ำตา แต่เราก็ยังมีคำว่า "ร่วมทุกข์ ร่วมสุข"  ด้วยกันเสมอ นั่นคือ มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน รับฟังเหตุผล วางเป้าหมายไว้เพื่อเดินร่วมทางไปด้วยกัน สานฝันเด็กน้อยบ้านไกล คำพูดสักล้านคำ ยังไม่เท่าหนึ่งการกระทำที่มีประโยชน์ต่อสังคม อย่ามัวแต่พูดหรือยืนเต๊ะท่าอยู่กับที่ หากคิดที่จะทำความดีจงลงมือทำ ณ เวลานี้ ยามนี้ มิใช่ว่าจะทำ แต่ไม่ทำ  วันนี้เข้าใจสิ่งหนึ่ง คือ มีคนเคยพูดไว้ว่า "ผู้ใหญ่ที่ไร้สัจจะ คือภาระของสังคม" จดจำไว้เสมอว่า ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด แต่หลังจากพูดออกไปแล้ว คำพูดเป็นนายเรา ตระหนัก ยึดมั่นในการทำคุณงามความดี ต่อไป ถึงแม้การทำความดีจะมีอุปสรรค เราอาจท้อได้อ แต่จงอย่าถอย ท่องไว้เสมอว่า "อุปสรรคและปัญหา คือที่มาแห่งความสำเร็จ " การทำความดี คือ ดอกไม้ของชีวิต
ในบางครั้งเราทุกคนมองในสิ่งเดียวกันแต่เราก็กลับคิดต่างกัน ซึ่ง แค่วินาทีเดียว เราก็คิดไม่เหมือนกันหนึ่งลมหายใจมีค่าเสมอ เราจะมองมาจากที่มุมไหนคงไม่สำคัญเท่ากับวินาทีที่เหลืออยู่ของเรา นั้นทำเพื่อตนเอง หรือเราเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับใครหลายคนที่กำลังอยู๋ในมุมมึด ของสังคม โดยเฉพาะคนผู้นั้น คือ ผู้ด้อยโอกาส ชีวิตคนเราก็แค่กว้างศอก ยาววา มิใช่หรือ
เด็กน้อยผู้ไร้เดียงสา แต่ยังตามล่าหาความฝัน เดินทางก้าวไปบนคืนวัน สู่ฝันที่ตั้งใจ วันนี้อาจมีปัญหา แต่ใช่ปัญญาแก้ไข เพื่ออนาคตเด็กน้อยบ้านไกล ครูไทยหัวใจแข็งแรง
ขอบคุณผู้ใจบุญทั้งหลาย ที่ได้แบ่งปันสิ่งของ น้ำใจที่ให้สมปอง ประคองเด็กน้อยบ้านไพร
หากเด็กๆที่โรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา ถามว่า "เอาะ จ๊ะ เว ล่ะ" นั่นหมายถึงถามว่า "ทานข้าวหรือยัง" หากเราทานแล้ว เราต้องตอบว่า "จ๊ะเปี๋ยวโอ่" หรือ "จ๊ะ เว" นะจ๊ะ..ภาษาล่าหู่ (มูเซอร์) ของเด็กน้อยชาวชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
เสนอคำว่า "อะบูอือหย๋ะ" ตามภาษาลาหู่ (มูเซอร์) แปลเป็นภาษาไทยว่า "ขอบคุณ" หรือ "สวัสดี" ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับทักทายกัน และแทรกอยู่ในประโยคสนทนา  ดังเช่นเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา ซึ่งแต่งชุดชนเผ่าทุกวันศุกร์ กำลังอะบูอือหย๋ะ ทุกท่านอยู่นะจ๊ะ
ภาพฝันวันนี้ คือมีอาหาร ไว้เพื่อรับประทาน สู้งานต่อไป   เด็กน้อยกลอยฝัน  ขยันสดใส  รักสุดหัวใจ  ใฝ่ใจการเรียน  มุ่งมั่นฟันฝ่า  ปัญหาอุปสรรค  พบแต่สิ่งรัก  ประจักษ์กตัญญู
เด็กน้อยด้อยโอกาสทางการศึกษา  แต่ไม่ไร้ซึ่งคนดูแล คณะครูโรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยาได้ประสานงานไปยังสถานอานามัยตำบลห้วยชมภู เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กนักเรียน เนื่องจากบริบทที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในถิ่นธุรกันดาร การคมนาคมยากลำบากมาก "กันไว้ดีกว่าแก้"
แต่ถ้ากันไม่แน่  แก้แล้วกัน"  หมายถึงแก้ปัญหานะจ๊ะ
ทัศนศึกษา เปิดโลกทัศน์ ให้กับนักเรียน ยากไร้และอยู่ในถิ่นทุรกันดารนั้น คือ งานของครู (ดอย) ณ เมืองเก่าอันรู่งเรืองในอดีตแห่งอาณาจักรเชียงแสน ตั้งอยู่จังหวัดเชียงราย ไม่ไกลจากสายน้ำโขง มีคำถามมากมาย จากเด็กน้อยชนเผ่าลาหู่ (มูเซอร์)  ละว้า อาข่า ไทยใหญ่ เหล่านี้  ดั่งสุภาษิตที่ว่า "เดินทางร้อยลี้ ดีกว่าอ่านหนังสือร้อยเล่ม" ร้อยยิ้ม เสียงหัวเราะเกิดการเรียนรู้ อนุรักษ์ สืบทอดประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า ของบรรพบุรุษซึ่งหามีที่สิ้นสุดไม่
 ในยามที่เด็กน้อยสวมรองเท้าแตะ เดินบนถนนที่ไม่คุ้นเคย ลงมาจากบนภูสูง เพื่อร่วมการแข่งขันกีฬาประจำตำบล นักเรียนของเราก็ไม่ย้อท้อต่อสิ่งใด   หัวใจสู้สู้ซะอย่าง เราเดินก้าวไปพร้อมกันเสมอ ไม่ว่าที่ไหน เมื่อไหร่  "โอกาส เป็นของผู้พร้อมเสมอ" หมายถึงความตั้งใจนะจ๊ะ สำหรับอุปกรณ์บางทีไม่มีตังค์ซื้อจ๋ะ.."มองแค่รองเท้า ก็รู้ว่าเราต่างกัน"..เสื้อผ้ามีคนสนับสนุน ปีนี้เหมือนทีม หลีกของอังกฤษเลย..อิอิ
เด็กชายจะหวะ  ป่าฟู ชั้น ป.6 ประธานนักเรียน นำไหว้ครู มาลาพวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา บูชาคุณพระพุทธ บูชาคุณพระธรรม ผู้น้อมนำสังคมไทย บูชาคุณครู  คำว่า "กตัญญู คือ ผู้รู้คุณ กตเวที คือ ผู้รู้คุณแล้วตอบแทน" ขอเพียงเยาชนคนไทยเหล่านี้ รักษ์ สามัคคีกัน เถอด สังคมไทยจะได้เจริญ
เนื่องในงานแข่งขันกีฬาห้วยชมภูเกมส์  ปีการศึกษา 2553 หลังจากที่ฝึกฝนอย่างเต็มที่ของนักเรียนโดยมีคณะครู ดูแลอย่างใกล้ชิด ทีมฟุตบอลโรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ พบกับโรงเรียนเทคนิคตำรวจตะเวณชายแดนดุสิต โดยเสมอเวลา 1-1 และได้ชนะจุดโทษไปอย่างสุดมันส์  ..."เด็กนักเรียนบนดอยทำดีได้ไม่แพ้ใคร"..
เด็กชายจะสอ แอแตะ ชั้น ป.2 น้องของเด็กหญิงนงลักษณ์  เด็กคนนี้เกิดขึ้นมาอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน พ่อแม่ไม่คุมกำเนิดจึงมีพี่และน้องรวมกันมากกว่า 7 คน ชีวิตน่าสงสารมากเนื่องจากที่บ้านมีอาหารไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดู จึงขาดสารอาหาร แต่เด็กคนนี้เป็นเด็กดี ขยันขันแข็ง ต้องเดินทางมาจากหมู่บ้านแสนต่อ ซึ่งห่างจากโรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา ประมาณ 4 กิโลเมตร เพื่อมาอาศัยอยู่หอพักนอนของโรงเรียน จุดประสงค์ คือเรียนหนังสือ...เพื่ออนาคตอย่างไม่ย้อท้อ
.."ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า พ่อแม่เหนื่อยยาก ลำบากหนักหนา สงสารมารดา เด็กตาดำดำ"..
..ความหิวโหย ของเด็กน้อยบนดอยสูง ฐานะยากจน บิดาดรมารดา ไม่มีเวลาเอาใจใส่ ขาดทุนทรัพย์ในการร่ำเรียนต่อ และการศึกษากำลังเข้าไปถึง เพื่อยกระดับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ สุขภาพพลานามัยดีที่ ที่นี่ก็คือสังคมไทยที่เราอาจมองข้ามไป "...
...
ครูท่านหนึ่งที่อุทิศชีวิตนับจากวันบรรจุจวบจนถึงวันเกษียณอายุ ตามวิถีแห่งราชการ เขาถูกเรียกเสมอมาว่า "ครูดอย" พี่พลสอนเสมอว่า ให้อดทนทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ  "คิดถึง" จากครูดอยเช่นกัน
..."เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม กิจกรรมก้าวหน้า มุ่งพัฒนาสังคม"...รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ปรากฎอยู่บนใบหน้าของนักเรียน ที่กำลังสนุกสนานกับเพื่อนๆ หลังการร่ำเรียนอยู่เต็มวัน อากาศกำลังดี เวลาเย็นใกล้กลับบ้าน  กีฬาที่ชอบ กับเพื่อนที่ใช่ มีครูดูแลอยู่ข้างๆ
"การให้โอกาสทางการศึกษาแด่เด็กน้อยผู้ด้อยโอกาสบ้านไกล คือ การพัฒนาคน อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั้งยืน" ณ เขตพื้นที่พิเศษ โรงเรียนบ้านกกน้อยวิทยา
เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน...คณะครูจึงจัดทัศนศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียนอยู่เสมอ
......"พลังเจ้ายังไม่แรง  เพียงพอกับพายุร้าย
สังคมนั้นมีแต่เหยี่ยว คอยเกี่ยวเอาตัวเจ้าไป
ข้างหน้ามีอันตราย...ล้มลุกทุกข์ใจ ไม่ถอย..ฯ